ภัยสุขภาพจากฝุ่น PM 2.5
2 มิถุนายน 2566ประเภท : ข่าวประชาสัมพันธ์
ข้อมูลรูปที่เกี่ยวข้อง
ม่กี่ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยประสบกับปัญหาฝุ่นควันปกคลุมหนาไปทั่วทุกพื้นที่ ฝุ่นละอองขนาดเล็ก อย่าง PM 2.5 ในปี 2565 นี้ ได้กลับมาอีกครั้งท่ามกลางสถานการณ์ โควิด-19 ที่ยังไม่คลี่คลาย หลายคนคงมีคำถามว่าทำไมเจ้าฝุ่น ทั้งนี้มีเกร็ดความรู้ และวิธีป้องกัน PM2.5 มาฝากค่ะ
PM2.5 คือ ฝุ่นละอองขนาดเล็ก โดย PM ย่อมาจากคำว่า Particulate Matters หรือฝุ่นละออง ส่วนตัวเลข 2.5 คือขนาดของฝุ่นละออง ซึ่งมีขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ด้วยขนาดที่เล็กมากของฝุ่น PM2.5 ซึ่งลอยอยู่ในอากาศร่วมกับไอน้ำ ควัน ก๊าซต่าง ๆ จึงทำให้แพร่กระจายเข้าสู่ทางเดินหายใจ กระแสเลือด และอวัยอื่น ๆ ในร่างกายได้ง่าย อีกทั้งยังเป็นพาหะนำสารอันตรายอื่น ๆ ที่เคลือบอยู่บนผิวของฝุ่นเข้ามาอีกด้วย เช่น สารปรอท สารโลหะหนัก สารก่อมะเร็ง ซึ่งสารเหล่านี้ส่งผลเสียกับร่างกายเป็นอย่างมาก
สาเหตุที่ทำให้เกิดฝุ่น PM2.5
1. ไฟป่า การเผาขยะ การเผาเพื่อทำการเกษตรในที่โล่ง เช่น การเผาไร่อ้อย เผาวัชพืชต่าง ๆ
2. ควันที่เกิดจากการทำอุตสาหกรรมต่าง ๆ และฝุ่นจากการก่อสร้าง
3. การขนส่งและคมนาคม เช่น ควันจากท่อไอเสีย การเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ของเครื่องยนต์
4. การผลิตไฟฟ้า เช่น การเผาปิโตรเลียมและถ่านหิน
5. กิจวัตรต่าง ๆ ของคน เช่น สูบบุหรี่ การจุดธูปเทียน เผากระดาษ การใช้เครื่องถ่ายเอกสาร
แล้วทำไมฝุ่นถึงมาทุกฤดูหนาว? นั่นก็เพราะว่าเป็นช่วงที่ประเทศไทย ได้รับความกดอากาศสูงจากทางตอนเหนือ ที่เคลื่อนตัวลงมาปกคลุมไปทั่วพื้นที่ ทำให้พื้นดินคายความร้อนออกมาอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้อากาศที่อยู่เหนือพื้นดินเย็นตามไปด้วย เนื่องจากความกดอากาศที่เข้ามาปกคลุม ทำให้ไม่มีช่องว่างให้อากาศร้อนและฝุ่นต่าง ๆ ที่สะสมตัวอยู่ภายในอากาศไหลผ่านไปได้ หรือที่เรียกกันว่า อากาศปิด จึงทำให้ฝุ่นเหล่านั้น ไหลย้อนกลับลงสู่พื้นดิน นี่คือสาเหตุว่าทำไม เข้าฤดูหนาวเราจึงพบปัญหาฝุ่นเยอะกว่าปกติค่ะ แต่ละภูมิภาคก็มีจำนวนฝุ่น PM2.5 แตกต่างกันไปตามปัจจัยต่าง ๆ ที่เข้ามากระทบค่ะ
- กรุงเทพมหานคร มักเกิดฝุ่นในช่วงเดือนตุลาคมไปจนถึงกุมภาพันธ์ เนื่องจากเป็นช่วงฤดูหนาว
- ภาคตะวันออกและตะวันตก มักเกิดฝุ่นในช่วงเดือนพฤศจิกายน - มีนาคม เพราะได้รับผลกระทบจากการเผาพื้นที่การเกษตร เช่น ไร่อ้อย
- ภาคเหนือและภาคกลาง มักเกิดฝุ่นในช่วงมกราคม - เมษายน เนื่องจากได้รับความกดอากาศต่ำจากกรุงเทพมหานคร ที่แผ่ขึ้นไปยังภาคเหนือ
- ภาคใต้ มักเกิดฝุ่นในช่วงเดือนสิงหาคม - ตุลาคม ซึ่งมาจากการเผาพื้นที่การเกษตร และหมอกควันจากประเทศเพื่อนบ้าน ที่พัดเข้ามา
ด้วยละอองฝุ่นที่มีขนาดเล็กมาก ทำให้เข้าสู่ร่างกายได้ง่าย ซึ่งฝุ่นพิษนี้ส่งผลเสียต่อสุขภาพเป็นอย่างมาก และในกรณีที่โหดร้ายที่สุด อาจจะเสียชีวิตจากแค่สิ่งที่เรียกว่าฝุ่นก็ได้นะคะ มาดูกันว่า อาการอะไรบ้าง ดังนี้ค่ะ
1. ตาแดง บริเวณเปลือกตาบวม ใต้ตาช้ำ สังเกตได้จากสีที่คล้ำขึ้น มีน้ำตาไหลบ่อย ๆ
2. ผิวหนัง เป็นตุ่มหรือผื่น นูนแดงกระจายไปทั่วบนผิวหนัง
3. รู้สึกคัน แสบ หรือแน่นในโพรงจมูก มีน้ำมูกแบบใส
4. ไอ จาม รู้สึกแน่นหน้าอก
5. ตัวร้อน มีไข้
การดูแลป้องกันตนเอง และหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิด PM2.5
1. ปิดประตูหน้าต่าง เพื่อป้องกันฝุ่นละอองเข้าบ้าน
2. หลีกเลี่ยงการออกกำลังกาย หรือทำงานหนักนอกบ้าน โดยเฉพาะผู้ป่วยหรือผู้ที่มีร่างกายไม่แข็งแรง ควรหลีกเลี่ยงการออกนอกบ้านโดยไม่จำเป็น